Pages

ค้นหา ใน Blog นี้

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โลกแห่งการเรียนรู้ของเด็กๆ - พระราชวังพญาไท


พระราชวังพญาไท

วันที่ไปชม 7 กรกฎาคม 2555


เรียนกันมาทั้งอาทิตย์ เป็นเด็กเทพต้องต่อสู้กับสภาพรถติด เรียนไม่กี่ชั่วโมงต่อวันก็เหมือนเรียนกันทั้งวัน  ออกเช้ากลับเย็นค่ำ เสาร์ อาทิตย์ จะไปไหนไกลก็อาจจะไม่ค่อยไหว สัปดาห์นี้กำลังหาที่เที่ยวเผื่อน้องดรีม เอาใกล้ๆและในเมือง เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คุณแทนเกิดอุบัติเหตุพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ ยังไงก็ต้องไปเยี่ยม (คุณแทนเคยเลี้ยงหนูดรีมมาอ่ะนะ) แม่เลยหาใหญ่จะไปที่ไหนดี ไม่ใกล้ไม่ไกล เอาในโรงพยาบาลเลย ของดีใจกลางเมืองแบบนี้ พระราชวังพญาไท


สถานที่ร่มรื่นมาก มีสนามหญ้ากว้างอยู่หน้าโรงพยาบาล วิวแบบถ่ายภาพสวยๆได้สบาย เห็นมีช่างภาพทั้งมือจริง มือสมัครเล่นมาถ่ายรูปนางแบบสวยๆด้วย 

การเดินทาง
ง่ายมากๆ  พระราชวังพญาไทอยู่ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปรถไฟฟ้า BTS สบายลงอนุสาวรีย์ นั่งแท๊กซี่ย้อนกลับมานิดนึง ขับรถไปเองอาจจะหาที่จอดยาก

ค่าเข้าชม
ฟรี แต่เราสามารถช่วยบริจาคเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษา

เวลาเยี่ยมชม
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยจะมีวิทยากรน่าชมวันละ 2 รอบ คือเวลา 09.30 น. และ 13.00 น. ถ่ายรูปได้ค่ะ

ไปชมเองก็ได้นะคะ ไม่ต้องรอรอบ แต่ไม่มีใครอธิบายให้ฟัง ต้องอ่านเอง และจะไม่ได้เข้าชม วันนั้นที่ไปก็ไม่ได้รอค่ะ เพราะน้องมีเรียนเปียโนตอนบ่ายโมง 
1,2,3... ไปชมกันได้แล้ว

ก่อนอื่นเขียนชื่อเข้าชม พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ใจดี สุภาพ และมี service mind เอามากๆ ค่ะ มีโบรชัวร์เป็นตัวช่วยเวลาเดินชม เพราะไม่ได้ไปรอบวิทยากร

ประวัติเล็กน้อย

พระราชวังพญาไทถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เพื่อใช้ในการเสด็จแปรพระราชฐาน(เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว.) และได้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถตราบจนเสด็จสวรรคต (ไปสู่สวรรค์, ตาย)
ต่อมารัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เสด็จประทับเป็นครั้งคราวและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสร้างพระตำหนักน้อยเป็นเรือนไม้สักสองชั้นพระราชทานนามว่า (ตั้งชื่อ) พระตำหนักเมขลารูจี ต่อมา มีการก่อสร้างพระที่นั่งน้อยใหญ่ขึ้นอีกหลายองค์

พระตำหนักเมขลารูจี 
เป็นเรือนไม้สัก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ภายในเป็นห้องโถงต่อเนื่องกัน มีสระสรง ใช้เป็นที่สรงน้ำหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ต่อมา เมื่อการก่อสร้างพระราชมณเฑียรแล้วเสร็จ

ตำหนักนี้ รู้สึกจะเปิดให้ชมเฉพาะ รอบพิธีกรนะคะ




พระที่นั่งพิมานจักรี 
ซึ่งเป็นพระที่นั่งประธานของหมู่พระที่นั่ง มียอดโดมสูงสำหรับชักธงมหาราช  ธงจะถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาเฉพาะเวลาที่พราะเจ้าแผ่นดินประทับอยู่เท่านั้น ภายในห้องต่างๆ บนเพดานจะมีจิตรกรรมสีปูนแห้ง  มีห้องสำคัญ เช่น
ห้องธารกำนัลเป็นห้องสำหรับเสด็จออกให้เฝ้าเป็นการส่วนพระองค์
ห้องสรงน้ำ (อาบน้ำ) และรูปสมัยเก่าประกอบด้วย

ห้องบรรทมของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ 6
ห้องทรงพระอักษร ซึ่งอยู่ใต้โดมบนชั้นสอง





พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน
อยู่ต่อจากพระที่นั่งพิมานจักรีไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะแบบโรมันเนสก์ เดิมสูง 2 ชั้น ต่อมาได้ต่อเติมชั้น 3 ขึ้นเพื่อจัดเป็นห้องพระบรรทมและห้องทรงงานส่วนพระองค์


พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส 
อยู่ทางตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี และมีทางเชื่อมต่อกันที่ชั้น 2 จัดเป็นที่ประทับของฝ่ายใน มียอดโดมขนาดเล็กสำหรับเชิญธงราชินีขึ้นสู่ยอดเสาในเวลาที่สมเด็จพระบรมราชินีประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้เพียงลำพังพระองค์ ที่ฝาผนังตอนใกล้เพดานและเพดานมีจิตรกรรมแบบอาร์ตนูโว

เมื่อมองออกจากพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานไปยังสนามหน้าพระราชวัง จะเห็นพระที่นั่งโถงแบบใบเซนไทน์ มีนามว่า พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประทับ ณ วังพญาไท




พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
พระที่นั่งนี้ถูกสร้างขั้นในระยะหลัง มีลักษณะเรียบง่าย ต่อมาได้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัฒนา พระวราชเทวี ในรัชกาลที6 และพระสุจริตสุดา พระสนมเอก

ปูชนียวัตถุ
ที่สำคัญคือ รูปหล่อ ท้าวหิรัญพนาสูรซึ่งมีตำนานว่าเป็นอสูรผู้ติดตามอารักขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังทรงเป็นมงกุฎราชกุมาร ครั้นพระราชมณเฑียแล้วเสร็จ ได้โปรดเกล้าให้หล่อรูปสมมุติขึ้นด้วยสัมฤทธิ์ มีพิธีบวงสรวง เชิญท้าวหิรัญพนาสูรเข้าสถิตพื่อเป็นเทพารักษ์ประจำพระราชวังสืบไป

สวนโรมัน ตรงกลางสระน้ำมีรูปพระวรุณ เพทแห่งฝนและสัตว์น้ำ ฐานสูงที่รองรับมีรูปปูนปุ้นพญานาค เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงออกแบบ


ปี 2486 พระราชทานพญาไทถูกแปรสภาพเป็น โฮเท็ลพญาไทตามพระราชดำริของรัชกาลที่  6 เพื่อรองรับชาวต่างชาติ

ปี 2473 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกขึ้น และมีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุครั้งแรกของประเทศไทย ที่พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

หลักการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 พระราชวังนี้ใช้เป็นสถานพยาบาลของกองทัพบก ซึ่งก็คือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน


พระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ในชั้นที่ 2 โดยชั้นที่ต่อเติมขึ้นมาในภายหลังจัดเป็นห้องบรรมทมและห้องสรงส่วนพระองค์

ร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ วังพญาไท 


เสร็จแล้วไปคลายร้อนหน่อยที่ร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ วังพญาไท สวย หรู มากค่ะ ร้านกาแฟนรสิงห์เป็นร้านกาแฟแรกในประเทศไทยเดิมอยู่แถว ถ.เสือป่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ เลิกกิจการไปในสมัยรัชกาลที่ ร้านกาแฟที่อยู่ในวังพญาไทสร้างขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศเก่าๆให้ชาวกรุงได้รำลึกถึง ใช้อาคารเทียบรถพระที่นั่งเป็นที่ตั้งร้าน และทำการตกแต่ง สร้างเฟอร์นิเจอร์ภายในร้านขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยเลียนแบบลักษณะของเฟอร์นิเจอร์เก่าในสมัยรัชกาลที่ และใช้ชื่อร้านว่า ร้านกาแฟ เดอ นรสิงห์ ณ วังพญาไท  สิ่งที่พิเศษที่สำคัญของร้านกาแฟนรสิงห์คือ เก้าอี้ไม้ที่มีพระนามาภิไทยย่อ รร.” ซึ่งมาจากคำว่า รามราชาธิบดี” ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเราไม่สามารถหานั่งที่ไหนได้ วันที่ไปไม่ได้สังเกตค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น